1. ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา: นวัตกรรม ห่วงกระดาษสีแดง-สีเขียว หยิบก่อนหยิบหลัง
2. คำสำคัญ: คลังยาย่อย, First expired First out
3. ชื่อหน่วยงาน: งานบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน
4. สมาชิกทีม: 1) นางนิรมล สอนแก้ว ผู้นำเสนอ
2) นางสาวรจิตา พรินทรากุล
3) นางสาวนงคราญ วรรณสิทธิ์
4) นางปรานอม วงค์กาไชย
5. การติดต่อกับทีมงาน: นางนิรมล สอนแก้ว งานบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน โทร 089-6338650
6. เป้าหมาย:
เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้การหยิบยาน้ำบนชั้นใช้งาน ให้เป็นไปตามลำดับการหมดอายุก่อน-หลัง และไม่พบอุบัติการณ์ยาน้ำหมดอายุบนชั้นใช้งาน ในช่วงเวลา 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน 2555) ที่ดำเนินการ
7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ:
เนื่องด้วยการจัดเก็บยาน้ำบนชั้นใช้งาน ของงานบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน มีการจัดเรียงยาเป็น 2 แถว และยาน้ำบางรายการมีอัตราการใช้ยาน้อย ทำให้บนชั้นใช้งานมียาหลาย lot การผลิต ทำให้เกิดความสับสนเวลาหยิบใช้ และมีความเสี่ยงต่อการหยิบที่ไม่เป็นไปตามลำดับการหมดอายุก่อนหลัง เดิมได้ดำเนินการลดความเสี่ยงโดยการใช้กระดาษแข็งกั้นระหว่าง lot การผลิต แต่พบปัญหาคือกระดาษแข็งที่กั้นอยู่บางครั้งหายไป งานบริการและบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน จึงเล็งเห็นปัญหาและจัดทำนวัตกรรมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงนี้
8. กิจกรรมการพัฒนา:
1. สำรวจความคิดเห็นของบุคลาการในหน่วยงาน ต่อแนวคิดการระบุลำดับยาน้ำที่หมดอายุก่อนหลังบนชั้นใช้งาน กรณียาน้ำชนิดนั้นมีมากกว่า 1 lot
ผลการสำรวจความคิดเห็นมีดังนี้
- ใช้กระดาษแข็งคั่นระหว่างยาน้ำแต่ละ lot ที่หมดอายุต่างกัน (ทบทวนวิธีการปฏิบัติ)
- ใช้กรวยกระดาษสีหุ้มหรือวางด้านบนขวดยาน้ำเพื่อระบุให้มีการหยิบใช้ก่อน
- ใช้ห่วงสีแดง สีเขียว คล้องบนขวดที่มีวันหมดอายุต่างกัน เพื่อระบุให้มีการหยิบใช้ก่อนหลัง
2. หาข้อตกลงร่วม และวางแนวทางปฏิบัติร่วมกัน
หลังจากหาข้อตกลงร่วมกันแล้ว พบว่าสมาชิกเห็นชอบให้ใช้ห่วงสีแดง สีเขียว ระบุตัวเลข 1 และ เลข 2 คล้องด้านบนขวด สีแดงเลข 1 คือหมดอายุก่อน หยิบใช้ก่อน สีเขียวเลข 2 คือหมดอายุหลัง หยิบใช้ทีหลัง โดยหากมีการวางขวด 2 แถวให้คล้องขวดด้านหน้าทั้ง 2 ขวด
วิธีการหยิบใช้ ให้หยิบขวดที่มีห่วงสีแดงก่อน เมื่อหยิบใช้แล้วให้คล้องห่วงไปยังขวดถัดไป
3. ดำเนินการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อจัดทำห่วงกระดาษสีแดง-สีเขียว
4. สมาชิกร่วมจัดทำห่วงกระดาษสีแดง-สีเขียว
5. ประชาสัมพันธ์การใช้ห่วงกระดาษสีแดง-สีเขียวในหน่วยงาน
6. ประเมินผลการใช้งานเมื่อครบ 3 เดือน และ 6 เดือน
9. การวัดผลและผลการเปลี่ยนแปลง
1) วัดผลการหยิบใช้งาน โดยสอบถามจากเจ้าหน้าที่ที่จัดยา พบว่ายาบนชั้นใช้งานหยิบใช้ง่าย ไม่สับสน ไม่พบอุบัติการณ์การหยิบยาที่หมดอายุก่อน (เป็นไปตามลำดับ first expired first out)
2) วัดผลความเป็นระเบียบในการจัดเรียง โดยการสุ่มสำรวจโดยเภสัชกร เดือนละ 1 ครั้ง พบว่า ยาน้ำบนชั้นใช้งานวางเรียงเป็นระเบียบ มีห่วงกระดาษสีแดง-สีเขียวบนขวดยาน้ำที่มี lot มากกว่า 1 lot ทุกรายการ
3) วัดผลอุบัติการณ์ยาหมดอายุ โดยการสำรวจโดยเจ้าพนักงานเภสัชกรรม เดือนละ 1 ครั้ง ไม่พบอุบัติการณ์ยาน้ำหมดอายุบนชั้นใช้งาน
10. โอกาสพัฒนา หรือข้อเสนอแนะในการพัฒนาต่อไป
1) ควรมีการประเมินจำนวนยาน้ำที่ใช้ไปในแต่ละสัปดาห์ เพื่อหาจำนวนที่เหมาะสมของยาน้ำบนชั้นใช้งาน
2) ควรมีการขยายผลไปยังยาฉีดบนชั้นใช้งาน เพื่อให้ลดความเสี่ยงในการหยิบยาไม่เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง และลดความเสี่ยงของยาฉีดหมดอายุบนชั้นใช้งาน
11. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1) ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมของสมาชิกทีม
2) การได้รับสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์จากโรงพยาบาลลอง
เข้าชม : 4063
|