1. ชื่อผลงาน /โครงการพัฒนา การดูแลผู้ป่วยรถเข็นนั่ง รถเข็นนอนงานผู้ป่วยนอก
2. คำสำคัญ : ผู้ป่วยนอก รถเข็นนั่ง รถเข็นนอน
3. ชื่อหน่วยงาน งานผู้ป่วยนอก
4. สมาชิกทีม
a. ปียเนตร จารภียะ
b. รัชนีย์ หล้าวงค์ ( ผู้นำเสนอ )
c. มยุรี สวนโพธิ์
d. รุจีพัชร์ สิงห์คำ
e. อิ๊ด จันเขียว
f. ชฎาทิพย์ กันทะเขียว
g. พนารัตน์ พิมเสน
h. พชรภา ขันทอง
i. รัชนก กาวีจันทร์
j. ดรุณี กันทะวะ
k. อรสา นาระกันทา
5. การติดต่อกับทีมงาน งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลอง เบอร์โทรศัพท์ 1030
6. เป้าหมาย เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยรถเข็นนั่ง รถเข็นนอน ได้อย่างต่อเนื่อง ปลอดภัย
7. ปัญหาและสาเหตุ
ในการซักประวัติ คัดกรองงานผู้ป่วยนอก มีการเรียกซักประวัติตามลำดับคิว พนักงานเปลจะนำผู้ป่วยรถเข็นนั่ง รถเข็นนอน ที่มายังจุดซักประวัติ เมื่อถึงลำดับการรับบริการพยาบาลจะทำการซักประวัติและเข็นผู้ป่วยไปยังจุดรอตรวจ พบปัญหาการประเมินผู้ป่วยล่าช้าเพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ มีโอกาสที่จะเกิดอาการเปลี่ยนแปลง และพบอุบัติการณ์มีโอกาสฉีดยาซ้ำ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ แพทย์จะสั่งการรักษาด้วยยาฉีด stat ก่อนส่งไปตรวจ investigate หรือทำหัตถการอื่น หลังตรวจรักษาแล้วแพทย์จะบันทึกข้อมูลการสั่งใช้ยาในใบสั่งยาเพื่อให้ญาติถือไปรับยา พยาบาลงานผู้ป่วยนอกได้ฉีดยาผู้ป่วยแล้ว แต่ไม่ได้ทำสัญลักษณ์เพื่อบ่งบอกว่าฉีดยาแล้ว ทำให้ห้องยาจ่ายยาอีกครั้งทำให้มีโอกาสที่จะฉีดยาซ้ำอีกครั้ง พบอุบัติการณ์ 2 ครั้งในเดือนมิถุนายน 54 และกันยายน 54
8. กิจกรรมการพัฒนา
1. จัด Zone ในการแยกประเภทผู้ป่วยที่ต้องใช้รถเข็นนั่ง รถเข็นนอน
2. จัดให้มีพยาบาลผู้รับผิดชอบในการซักประวัติ คัดกรอง ผู้ป่วยรถเข็นนั่ง รถเข็นนอน ผู้ป่วยที่มีอาการเปลี่ยนแปลงหรืออยู่ในเกณฑ์ที่ต้องส่งไปยังห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ได้รับการส่งตัวและให้การพยาบาลก่อนส่ง
3. การจัดลำดับการเข้ารับบริการ ให้ผู้ป่วยรถเข็นนั่ง รถเข็นนอน ที่มีอาการเปลี่ยนแปลงได้รับการตรวจจากแพทย์ก่อน
4. พยาบาลผู้รับผิดชอบให้การดูแลผู้ป่วยแบบ Case Method ซึ่งมีหน้าที่ observe อาการผู้ป่วย วัดสัญญาณชีพ ให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ stat ยา hydralyzine หรือ captropril ในผู้ป่วยที่ต้อง observe BP ฉีดยา stat ก่อนส่ง investigate หรือส่งทำหัตถการอื่น และประเมินอาการซ้ำก่อนพบแพทย์
9. การวัดผลการเปลี่ยนแปลง
1. มีการประเมินผู้ป่วยรถเข็นนั่ง รถเข็นนอน ที่มีภาวะเปลี่ยนแปลง ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือ หรือส่งต่อไปห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินได้ทันท่วงที
2. ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องจากพยาบาลผู้รับผิดชอบ ลดความผิดพลาดจากการทำหัตการ หรือให้บริการอื่น
3. ในปี 2555ไม่พบอุบัติการณ์ เกือบพลาดในการฉีดยาซ้ำ
เข้าชม : 5625
|